ความเป็นมาและความสำคัญของอาสาสมัครแรงงาน
กระทรวงแรงงานได้บูรณาการงาน “อาสาสมัคร” ของทุกหน่วยงานสังกัดกระทรวงแรงงานมาเป็น “อาสาสมัครแรงงาน” ภายใต้ระเบียบกระทรวงแรงงานว่าด้วยอาสาสมัครแรงงาน พ.ศ. 2548 และได้ให้สำนักงานแรงงานจังหวัดจัดตั้งอาสาสมัครแรงงาน โดยในปี 2549 ให้จัดตั้งอาสาสมัครแรงงานให้ได้ ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 10 ของพื้นที่และต่อมาได้ขยายให้ทั่วทั้งประเทศ จนถึงปี 2551 มีอาสาสมัครแรงงานครบทุกอำเภอ
ปี 2552 กระทรวงแรงงาน ได้รับการจัดสรรงบประมาณเพื่อเป็นขวัญและกำลังใจให้อาสาสมัครแรงงานระดับอำเภอ จำนวน 877 คน คนละ 600 บาท ทำให้ประชาชนในพื้นที่รู้จักอาสาสมัครแรงงานมากขึ้น เนื่องจาก “อาสาสมัครแรงงานเปรียบเสมือนตัวแทนกระทรวงแรงงานในพื้นที่” โดยภารกิจที่สำคัญในขณะนั้น คือ การประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารด้านแรงงาน เช่น ตำแหน่งงานว่าง การฝึกอาชีพ และประสานการนำบริการลงสู่ประชาชนในพื้นที่
ปี พ.ศ. 2553 เพื่อให้การปฏิบัติงานของอาสาสมัครแรงงานในพื้นที่/ชุมชนทำหน้าที่ “ข้อต่อ” ระหว่างกระทรวงแรงงาน กับประชาชนในพื้นที่ให้รุดหน้าไปอีกระดับหนึ่ง จึงได้ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมและสนับสนุนการปฏิบัติงานของอาสาสมัครแรงงานและเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2553 กระทรวงแรงงานจึงได้จัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ด้านเครือข่ายอาสาสมัครแรงงาน ประกอบด้วย 5 หน่วย คือ กระทรวงแรงงาน กระทรวงมหาดไทย สมาคมองค์การบริหารส่วนจังหวัดแห่งประเทศไทย สมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย สมาคมองค์การบริหารส่วนตำบลแห่งประเทศไทย บันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ดังกล่าวมีสาระสำคัญ
6 ประการ คือ
การทำงานในพื้นที่ของอาสาสมัครแรงงานในระดับอำเภอโดยในระยะแรก มีการกำหนดภารกิจให้ดำเนินการใน 3 กิจกรรม คือ
(1) ออกหน่วยเคลื่อนที่ เช่น ประสานข้อมูลความต้องการของประชาชนในพื้นที่ /ชุมชนให้สำนักงานแรงงานจังหวัดทราบ เพื่อกำหนดกิจกรรมการให้บริการในพื้นที่ ประสานการจัดเตรียมพื้นที่/ประชาชน และประชาสัมพันธ์เชิญชวนประชาชนมารับบริการ
(2) สร้างความพึงพอใจในการให้บริการด้านแรงงานแก่ผู้มารับบริการ หรือมาขอรับความช่วยเหลือผ่านการดำเนินงานของแกนนำอาสาสมัครแรงงานและอาสาสมัครแรงงาน ตลอดจนเครือข่ายด้านแรงงานอื่น ๆ
(3) ขยายเครือข่ายอาสาสมัครแรงงานในระดับตำบลให้ได้ตามเป้าหมายที่กำหนด
กระบวนการทำงานด้านอาสาสมัครแรงงาน โดยการบูรณาการภารกิจงานของ 5 หน่วยงานในสังกัดกระทรวงแรงงาน ดังนี้
ความสำคัญของอาสาสมัครแรงงาน
กระทรวงแรงงานมีภารกิจที่สำคัญยิ่งประการหนึ่ง คือ การเพิ่มโอกาสการมีงานทำ มีความมั่นคงและมีคุณภาพชีวิตที่ดี โดยเฉพาะการดูแลรับผิดชอบแรงงานในวัยทำงานซึ่งมีอยู่ประมาณ 37 ล้านคน โดยมุ่งให้ความสำคัญต่อการให้บริการประชาชนในพื้นที่/ชุมชนที่ยังอยู่ห่างไกลและไม่สามารถเข้าถึงบริการต่าง ๆ จากภาครัฐได้โดยสะดวก อีกทั้งรัฐเองยังไม่สามารถกระจายการบริการให้เข้าถึงได้ทุกครัวเรือนเนื่องมาจากข้อจำกัดทาง “ด้านอัตรากำลัง”กระทรวงแรงงานมีหน่วยงานจำกัดอยู่เฉพาะในระดับจังหวัดเท่านั้นทำให้ขาด “ความคล่องตัว”ในการนำบริการด้านแรงงานลงสู่ประชาชนในพื้นที่ระดับอำเภอ ตำบล และหมู่บ้านการจะให้ความช่วยเหลือประชาชนด้านแรงงานให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ จำเป็นต้องอาศัยกลไกการทำงานในรูปแบบ “เครือข่ายตัวแทนกระทรวง” เพื่อทำหน้าที่เป็นสื่อในการเชื่อมโยงงานจากส่วนกลาง/จังหวัดลงสู่ระดับพื้นที่ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่กระทรวงแรงงานต้องมีผู้ประสานงาน ในระดับพื้นที่/ชุมชนที่มีประสิทธิภาพ มีความรู้และความเข้าใจแนวทางในการแก้ปัญหาด้านแรงงานได้ โดยกระทรวงแรงงานได้เปิดโอกาสให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงาน โดยการสร้างเครือข่ายอาสาสมัคร ภายใต้ชื่อ “อาสาสมัครแรงงาน” หรือ อสร.ซึ่งได้เริ่มจัดตั้งเมื่อปี 2549 และได้ขยายอาสาสมัครแรงงานครบ 76 จังหวัด มีอาสาสมัครแรงงานทั่วประเทศ จำนวน 19,743 คน
ดังนั้น อาสาสมัครแรงงาน คือ ผู้ที่พร้อมจะเสียสละเพื่อสังคมโดยมีความสมัครใจทำงานให้กับกระทรวงแรงงาน
โดยมิได้หวังสิ่งตอบแทนเพื่อให้เกิดสันติสุขแก่ผู้ใช้แรงงาน นายจ้าง ลูกจ้าง และประชาชนทั่วไป ซึ่งอาสาสมัครแรงงานเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในฐานะ“สื่อกลาง”ทำหน้าที่เป็นข้อต่อระหว่างประชาชนในพื้นที่/ชุมชนกับหน่วยงานในสังกัดกระทรวงแรงงานในจังหวัด เพื่อให้ความช่วยเหลือแก่ประชาชนที่ประสบปัญหาด้านแรงงานในพื้นที่/ชุมชนโดยสรุปความสำคัญของอาสาสมัครแรงงาน มีดังนี้